วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

โอเพนซอร์ซสำหรับห้องสมุด (Open Source Software for Library)


โอเพนซอร์ซสำหรับห้องสมุด (Open Source Software for Library)

ห้องสมุดยุคใหม่
ที่มาภาพ : http://www.oknation.net/blog/reading/2008/12/16/entry-1

              การนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติในระยะแรกเริ่ม เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2537 ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ของห้องสมุดอัตโนมัติ จะเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยโมดูล (Module) ต่างๆ ที่ช่วยในการปฏิบัติงานประจำของห้องสมุดให้ได้ครบวงจร เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของบรรณานุกรม รูปแบบ MARC และรับข้อมูลที่แปลงผันจากโปรแกรมอื่นๆ
              การนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติแบบบูรณาการเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศมาใช้เริ่มจาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำระบบ INNOPAC  เข้ามาเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลของห้องสมุดคณะ/สถาบันในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเริ่มนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติมาใช้ ทำให้ห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาแห่งอื่น ๆ ตื่นตัวในการนำระบบลักษณะนี้มาใช้บ้าง ทำให้มีระบบห้องสมุดอัตโนมัติเชิงพาณิชย์จากต่างประเทศเกิดขึ้นในประเทศไทยเ็ป็นจำนวนมาก


ซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติที่มีการใช้ในประเทศไทย

ซอฟต์แวร์  
ประเภทของซอฟต์แวร์ 
หน่วยงานที่ใช้ 
 จำนวน
 INNOPAC
 ซื้อลิขสิทธิ์
 มข. มช. ม.นเรศวร ม.มหาสารคาม มอ. (ปัตตานี)
จฬ. มก. มม. สจล. มร. มศก. สจพ.
 13
 Horizon
 ซื้อลิขสิทธิ์
 ม.ทักษิณ ม.สุรนารี ม. แม่โจ้ สพบ.
 4
 VTLS
 ซื้อลิขสิทธิ์
 ม. แม่ฟ้าหลวง ม. วลัยลักษณ์ ม.อุบลราชธานี มสธ.
 4
 Magic Library
ซื้อลิขสิทธิ์
ม. บูรพา
1
PSU Library Automation
พัฒนาใช้เอง
มอ. (หาดใหญ่) มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
2

ตารางแสดง ซอฟต์แวร์ห้องสมุดอัตโนมัติที่มีการใช้ในประเทศไทย






http://www.gotoknow.org/blog/information/235969

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น