วันศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identify – RFID)

เทคโนโลยีอาร์เอฟไอดี ( Radio Frequency Identify – RFID)
ห้องสมุดที่ใช้ RFID
ที่มาภาพ : http://libbest.com/rfid.html

              ห้องสมุดได้ลองนำเทคโนโลยีอาร์เอฟไอดีมาใช้นำร่องกับระบบห้องสมุด เพียงติดชิพอาร์เอฟไอดีไว้ที่หนังสือในห้องสมุด แล้วใส่ข้อมูลต่างๆ ของหนังสือเล่มนั้นๆ ไว้ในชิพ อย่างเช่น ข้อมูลชื่อหนังสือ ประเภทหนังสือ ชั้นที่เก็บหนังสือ และติดเครื่องอ่านไว้ตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งการนำเอาอาร์เอฟไอดีมาใช้กับระบบห้องสมุดนี้ โดยอาร์เอฟไอดี จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้ดูแลและผู้ที่มาใช้บริการห้องสมุด

เทคโนโลยีคิวอาร์โค๊ด ( QR Code or 2D Barcode)

เทคโนโลยีคิวอาร์โค๊ด ( QR Code or 2D Barcode)

ตัวอย่าง QR Code

              QR Code หรือ 2D Barcode หรือ two-dimensional bar code ก็คือรหัสชนิดหนึ่ง ถูกคิดค้นขึ้นในปี 1994 โดยบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น ที่ชื่อ Denso-Wave และได้จดทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code ไปแล้วทั้งในญี่ปุ่น และทั่วโลก ทำให้เรามักจะเรียกว่า 2D Bar Code กันแทนเพื่อเลี่ยงปัญหาลิขสิทธิ์ แต่อย่างไรก็ตาม คำว่า QR Code นั้น ได้ถูกนิยามความหมายว่าเป็น Quick Response หรือการตอบสนองที่รวดเร็ว ซึ่งมาจากความตั้งใจของผู้คิดค้น ที่จะให้ QR Code นี้สามารถถูกอ่านได้อย่างรวดเร็วนั่นเอง ซึ่งตัวสัญลักษณ์ QR Code นี้ได้รับความนิยม จนกลายเป็นของธรรมดาในญี่ปุ่นไปแล้ว 

เทคโนโลยีรหัสแท่ง (Barcode)

เทคโนโลยีรหัสแท่ง (Barcode)
ตัวอย่างบาร์โค้ด
                 รหัสแท่ง หรือบาร์โค้ด (Barcode) เป็นลายเส้นตรง ๆ มีตัวเลขกำกับอยู่ด้านล่าง ปัจจุบันจะเห็นได้จากบนปกหนังสือ หรือสินค้าแทบทุกชนิด ซึ่งบาร์โค้ดสามารถช่วยอำนวยความสะดวกได้เป็นอย่างมาก บาร์โค้ดได้มีการออกสิทธิบัตรเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม (พ.ศ.2495)

โอเพนซอร์ซสำหรับห้องสมุด (Open Source Software for Library)


โอเพนซอร์ซสำหรับห้องสมุด (Open Source Software for Library)

ห้องสมุดยุคใหม่
ที่มาภาพ : http://www.oknation.net/blog/reading/2008/12/16/entry-1

              การนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติในระยะแรกเริ่ม เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2537 ส่วนใหญ่ซอฟต์แวร์ของห้องสมุดอัตโนมัติ จะเป็นซอฟต์แวร์สำเร็จรูป ซึ่งประกอบด้วยโมดูล (Module) ต่างๆ ที่ช่วยในการปฏิบัติงานประจำของห้องสมุดให้ได้ครบวงจร เชื่อมโยงกับฐานข้อมูลต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังสามารถรับข้อมูลที่อยู่ในรูปแบบของบรรณานุกรม รูปแบบ MARC และรับข้อมูลที่แปลงผันจากโปรแกรมอื่นๆ